[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
รัชนู บัวพันธ์


ชื่อนวัตกรรม
เอกสารประกอบการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและ ปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
         innovation | แชร์  เข้าชม 1217
ประเภทนวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2555
ชื่อผู้พัฒนา รัชนู บัวพันธ์
หน่วยงาน โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม   สังกัด   สพม. เขต 40
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
เอกสารประกอบการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและ
ปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองหรือเรียนรู้พร้อมกันทั้งห้องเรียน มีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย คำชี้แจง ผลการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบ เนื้อหา กิจกรรมฝึกปฏิบัติ เฉลยกิจกรรมฝึกปฏิบัติ เอกสาร 1 ชุด มี 12 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องปูหิน เล่มที่ 2 เรื่องปูแป้ง เล่มที่ 3 เรื่องปูนา เล่มที่ 4 เรื่องปูลำห้วย เล่มที่ 5 เรื่องอิลุมปุมเป้า เล่มที่ 6 เรื่อง ผักกูด เล่มที่ 7 เรื่อง บอน เล่มที่ 8 เรื่อง เทา เล่มที่ 9 เรื่อง ไคร้ เล่มที่ 10 เรื่อง กล้วยหก เล่มที่ 11 เรื่อง สะแล เล่มที่ 12 เรื่อง สะค้าน

วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและ
ปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำพุง บ้านเหมืองแบ่ง ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
2. เครื่องมือประกอบการฝึกปฏิบัติกิจกรรม

การวัดและประเมินผล
1. ทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน
2. ประเมินความถูกต้องของกิจกรรมฝึกปฏิบัติ

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทผู้สอน
ผู้สอนมีบทบาทในการแนะนำวิธีการใช้เอกสารประกอบการสอนให้นักเรียนเข้าใจก่อนนำไปใช้ และให้คำปรึกษาเมื่อนักเรียนพบปัญหา
บทบาทผู้เรียน
ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอ่านผลการเรียนรู้ก่อนลงมือศึกษาเอกสารประกอบการเรียน ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาบทเรียนตามลำดับ ปฏิบัติกิจกรรมฝึกปฏิบัติ และทดสอบหลังเรียน

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ในการนำเอกสารประกอบการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชน้ำและปูน้ำจืด โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ควรศึกษาขั้นตอนในการใช้ให้เข้าใจ มีการวางแผนกิจกรรมไว้ให้แน่นอน ทำกิจกรรมในเอกสารประกอบการเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
2. ควรมีการสนับสนุนและร่วมมือกันในกลุ่มครูผู้สอน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการใช้เอกสารประกอบการเรียน




กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883