[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


สุรินธร วังคะฮาด และคณะ


ชื่อนวัตกรรม
กระบวนการสร้างชุดการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ; การ
         innovation | แชร์  เข้าชม 2139
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา สุรินธร วังคะฮาด และคณะ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37   สังกัด   สพม. เขต 37
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
กระบวนการสร้างชุดการสอน ที่มีขั้นตอนพัฒนา 1)กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2) กำหนดหน่วยการเรียนรู้ 3) กำหนดหัวเรื่อง 4) กำหนดมโนภาพ (Concept) และหลักการ (Principle) 5) กำหนดวัตถุประสงค์ 6) กำหนดกิจกรรมการเรียนการรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 7) กำหนดแบบประเมิน 8) เลือกและผลิตสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ 9) หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10) การใช้ชุดการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล หมายถึง ความสามารถการคิดตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget (Cognitive development Theory) ได้แบ่งขั้นต่าง ๆ ของพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ออกเป็น 4 ขั้น คือ
1) ระดับพัฒนาการความรู้สึกทางอวัยวะเคลื่อนไหว (Sensorimotor Operation Phase)
อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี)
2) ระดับพัฒนาการความคิดรวบยอด (Conceptual Though Phase) อายุระหว่าง 2-7 ปี
3) ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุระหว่าง 7-11 ปี
4) ระดับพัฒนาการความเข้าใจอย่างมีเหตุผล (Formal Operational Stage) อายุระหว่าง
11-15 ปี

วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. การอบรมปฏิบัติการ 2 ครั้ง
2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. การทดสอบความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียน
4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะวิจัยการสนทนากลุ่มย่อย การนิเทศ กำกับติดตาม
5. บันทึกการประชุมคณะกรรมการวิชาการ, บันทึกการประชุมกลุ่ม
6. บันทึกภาคสนามการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
7. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอ ผลการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
8. การกำกับ นิเทศติดตาม


สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมหรือแบบฝึก
2. ใบกิจกรรมปริศนา คำทาย
3. บัตรภาพ
4. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ปริมาณอาหารที่คนไทยควรกินใน 1 วัน
6.หนังสือแบบวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.2)
7. เนื้อเพลงเพลงอาหารหลัก 5 หมู่
8. ชุดการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล โดย นางสุรินธร วังคะฮาด ครู โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา
9. สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ออนไลด์ (manytowmean.multiply.com)

การวัดและประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน บันทึกการเรียนรู้ ตรวจแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
สังเกตการมีส่วนร่วม และการสะท้อนผลหลังการปฏิบัติงาน
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียน จากลักษณะการตอบ คำถามและเขียนแสดงเหตุผลของนักเรียนได้ สามารถจำแนกระดับความสามารถการคิดเชิงเหตุผล แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
บทบาทของครูในการใช้ชุดกระบวนการสร้างชุดการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถ
การคิดเชิงเหตุผล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
1. ควรปรับระยะเวลาและการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนเนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากต้องใช้เวลานาน ที่จะให้นักเรียนฝึกการคิดคณิตศาสตร์
2. ครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
3. สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน
4. ถามคำตอบที่เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลแก่นักเรียน
5. ครูควรอธิบายทำความเข้าใจถึงขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละชุด เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจตรงกัน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนมากขึ้น
6. ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรดูแลและคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
กระบวนการวิจัยแบบร่วมมือเพื่อสร้างชุดการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาอภิปรายผลการวิจัยได้ว่า กระบวนการวิจัยแบบร่วมมือสามารถทำให้การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนนั้นบรรลุเป้าหมาย แต่ยังมีประเด็นหรือสาระสำคัญบางประการที่ต้องการการยืนยันประสิทธิภาพและการขยายผลการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิจัย ดังนี้
การพัฒนาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80
การสร้างเครือข่ายพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานอื่น เพื่อการขยายผล เช่น การปลูกต้นกล้าพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล การผลิต/สื่อประกอบชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลที่กระตุ้นการคิด เร้าความสนใจใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน การเครือข่ายต้นกล้าพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผลสู่ห้องเรียน การประเมินความก้าวหน้าและประสิทธิผลต้นกล้าพัฒนาความสามารถการคิดเชิงเหตุผล



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883