[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


วีระพงศ์ เดชบุญ


ชื่อนวัตกรรม
แบบสอบถามความคิดเห็น เรื่อง สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
         innovation | แชร์  เข้าชม 1104
ประเภทนวัตกรรม การประเมินผล
ปีที่พัฒนา 2552
ชื่อผู้พัฒนา วีระพงศ์ เดชบุญ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2   สังกัด   สพม. เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
..
วัตถุประสงค์เฉพาะ
..
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
..
สื่อและแหล่งเรียนรู้
..
การวัดและประเมินผล
..
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
..
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1) จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ทั้ง 11 ด้าน จำนวน 52 ตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากขึ้นไป (=3.51) ทุกข้อ นั่นหมายถึง สามารถนำสมรรถนะดังกล่าวไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการประเมินผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ควรส่งเสริมให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา บริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านนี้ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การส่งเสริมสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
3) สิ่งสำคัญของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการบริหารงานบุคคล คือ ต้องสามารถสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาและสามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการทำงานให้แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษา เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะข้อนี้ในระดับมากที่สุด
4) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การประเมินผู้บริหารสถานศึกษาอาจจะให้ผู้ประเมินมีสถานภาพเช่นเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้
5) นอกจากตัวชี้วัดสมรรถนะของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สมรรถนะเพิ่มเติมที่ได้จากแบบสอบถามตอนที่ 3 ก็มีความน่าสนใจในการนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้มีสมรรถนะที่พึงประสงค์ อาทิ สมรรถนะด้านการวิจัยทางการศึกษา อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดสามารถส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูและนำผลการวิจัยมาใช้ในการบริหารงาน สมรรถนะด้านการบริหารงานบุคคล อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดมีความรู้ในการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่ง/งาน สมรรถนะด้านการบริหารงานธุรการ การเงิน และพัสดุ อาจเพิ่มเติมตัวชี้วัดมีความซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นต้น
6) ผลจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานที่มีหน้าที่ใช้และพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการผลิตผู้บริหารสถานศึกษาให้ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่พึงประสงค์
7) สามารถใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการสร้างเกณฑ์การประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา และเป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883