[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นายพงษ์ศักดา นามประมา. (2557). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่ความเป็นพลเมืองอาเซียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | นวัตกรรม | เข้าชม 6150 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research–Based Learning: RBL) สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, ทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร
2. เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชาเพิ่มเติม
ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 ให้นักเรียนร้อยละ 80 มีคะแนนทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ร้อยละ 70 ขึ้นไป
3. เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชาเพิ่มเติม
ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 ให้นักเรียนร้อยละ 80 มีคะแนนทดสอบวัดทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
4. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในรายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 ให้นักเรียนร้อยละ 80 มีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
3. สมมติฐานการวิจัย
ไม่มี
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียน สุมเส้าพิทยาคาร อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คน เพราะเป็นห้องที่มีนักเรียนในระดับเก่ง, ปานกลาง และอ่อน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการและเครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการ ได้แก่
1.1 รายวิชาเพิ่มเติม คือ รายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร มีรายละเอียด ดังนี้
1) รายชื่อรายวิชา รหัสวิชา ชั้นที่สอน จำนวนชั่วโมง หน่วยกิต
2) ผลการเรียนรู้
3) ตารางวิเคราะห์ผลการเรียนรู้
4) คำอธิบายรายวิชา
5) ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้
6) โครงสร้างรายวิชา
7) แผนการเรียนรู้
1.2 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) โดยยึดตามแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี (2548), ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2547), ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2547), สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2546) และกรมวิชาการ (2545) ซึ่งผู้วิจัยได้นำขั้นตอนมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการเรียนรู้และได้ปรับปรุงเพื่อให้เหมาะกับสภาพของนักเรียน จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 14 ชั่วโมง
2. เครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ทดสอบหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยวิจัยเป็นฐาน (RBL) แบบทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีลักษณะเป็นสถานการณ์ชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว จำนวน 30 ข้อ มีการให้คะแนน คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกิน 1 คำตอบได้ 0 คะแนน
2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีลักษณะเป็นคำถามให้นักเรียนวิเคราะห์สถานการณ์แต่ละสถานการณ์ เป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว มีการให้คะแนน คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกินได้ 0 คะแนน จำนวน 30 ข้อ ตามกรอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2554)
2.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Achievement Test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามผลการเรียนรู้ รายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 โดยมีลักษณะเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว จำนวน 30 ข้อ โดยการให้คะแนน คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกิน 1 คำตอบได้ 0 คะแนน
2.4 แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัยและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบบสังเกตที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัยที่ทำการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.2.5 แบบสัมภาษณ์นักเรียน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีลักษณะเป็นคำถามให้นักเรียนตอบตามประเด็นคำถามเพื่อสะท้อนผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
ช่วงเวลาการทดลอง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) รายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 จำนวน 14 ชั่วโมง (7 แผนการจัดการเรียนรู้)
การวิเคราะข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการดำเนินการปฏิบัติการวิจัยทั้ง 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม และระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการสิ้นสุดการปฏิบัติการวิจัย โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยเป็นการแจกแจงบรรยายข้อค้นพบ อุปสรรค/ปัญหาที่สำคัญในเชิงบรรยายความเพื่อนำไปสู่การสรุปผลการวิจัย และแสดงให้เห็นการวิจัยที่เป็นการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขอุปสรรค/ปัญหาที่พบนั้นให้ดีขึ้น ซึ่งผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยได้นำข้อมูล ข้อค้นพบที่รวบรวมจากเครื่องมือต่างๆ ดังนี้
1.1 แบบบันทึกหลังการสอน
1.2 แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
1.3 แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของผู้วิจัย
1.4 แบบสัมภาษณ์นักเรียน
ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ และสรุปเพื่อประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าที่ปฏิบัติมีความเหมาะสมเพียงใด มีอุปสรรค/ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไรบ้าง ตลอดจนการหาวิธีแก้ไขปรับปรุงเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น แล้วรายงานผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ในลักษณะของการบรรยายเป็นความเรียง
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนการประเมินผลงานกลุ่ม คะแนนการประเมินการทำงานกลุ่ม คะแนนการทดสอบท้ายวงจร คะแนนการทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คะแนนการทดสอบวัดทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียน และคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นอกจากนี้ยังใช้สถิติในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ค่าความเชื่อมั่น KR-20 ค่าความยากงาย (p) และอำนาจจำแนก (r) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์แบบทดสอบด้วยโปรแกรมTest Analysis Program Version 4.3.5 (TAP) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
5. ผลการวิจัย
1. รายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประกอบด้วย 1) รายชื่อรายวิชา รหัสวิชา ชั้นที่สอน จำนวนชั่วโมง หน่วยกิต 2) ผลการเรียนรู้ 3) ตารางวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ 4) คำอธิบายรายวิชา 5) ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้ 6) โครงสร้างรายวิชา 7) แผนการเรียนรู้ โดยได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง การหาตรวจสอบค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ผลการประเมินรายวิชาเพิ่มเติม จากผู้เชี่ยวชาญ มีคะแนนประเมินเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 46.40 คิดเป็นร้อยละ 92.80
2. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร นักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 82.86 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 82.50 ขึ้นไป
3. ทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร นักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 88.57 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 83.90 ขึ้นไป
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเพิ่มเติม ส 33202 อาเซียนศึกษา 2 ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียนสุมเส้าพิทยาคาร นักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 85.71 ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80.80 ขึ้นไป
6. การใช้ประโยชน์
การวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. ปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน จากการได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ซึ่งนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงทำให้เกิดทักษะ/กระบวนการวิจัยที่ติดตัวนักเรียนไป ซึ่งนักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันได้ด้วย
2. เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในเรื่องอื่นๆ และระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. สถานศึกษาหรือโรงเรียนได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการวิจัย เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเป็นพลเมืองอาเซียนให้เกิดกับนักเรียน ตามแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2557 หน้า 14 – 25

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883