[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นายวัชระ จันทรัตน์. (2562). การนิเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | เข้าชม 1193 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
-
2. วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาเอกสารคู่มือนิเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับผู้นิเทศ และคู่มือฝึกปฏิบัติการการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับครูผู้สอน และเพื่อรายงานผลการพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน นักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 128 คน
เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ คู่มือนิเทศ และคู่มือฝึกปฏิบัติการการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง อีกประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2561
การวิเคราะข้อมูล
โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และ t-test
5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินเอกสารคู่มือนิเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับผู้นิเทศ และคู่มือปฏิบัติการการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับครูผู้สอน โดยภาพรวมทั้งหมด อยู่ในระดับเหมาะสมมาก
2. การพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง
2.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน ที่ฝึกอบรมจากเอกสารคู่มือฝึกปฏิบัติการการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ค่าเฉลี่ยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.2 ผลการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง สรุปได้ดังนี้
2.2.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความเห็นว่า การนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรง ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริงในระดับมาก โดยส่วนใหญ่มีการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาครูผู้สอนในการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริงมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน ด้วยวิธีการให้คำปรึกษา การสนทนาทางวิชาการ เทคนิคการถามถึง การเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน การตรวจผลงาน การให้ขวัญกำลังใจให้คำชมเชย พาคิดพาทำ การแนะนำแหล่งความรู้และสื่อต่างๆ การให้ไปศึกษาดูงาน และหาตัวอย่างให้ โดยส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการนิเทศการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง
2.2.2 ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความรู้สึกที่ดีต่อการนิเทศภายในโรงเรียน เห็นว่า การนิเทศภายในโรงเรียน โดยผู้อำนวยการโรงเรียนช่วยให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง เพิ่มขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่อง การวัดและประเมินผลเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ลงมือพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริงได้ ครูมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ได้สำเร็จ มั่นใจในความรู้ความสามารถของตนเองในการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง คิดว่าสามารถเป็นที่ปรึกษาและขยายผลแก่เพื่อนครูในโรงเรียนของตนเองได้ และลงมือพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง อย่างจริงจัง
2.3 ผลการสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริงของครูผู้สอน สรุปได้ว่า นักเรียนทุกคนชอบเรียนกับครูที่จัดการเรียนรู้และประเมินตามสภาพจริง เพราะครูสอนสนุกขึ้น ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้เรียนเป็นกลุ่ม มีการวางแผนการทำงาน ปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ประเมินผลงานและปรับปรุงผลงานร่วมกัน ทำให้มีความเข้าใจกับบทเรียนเร็วขึ้น ได้รับการแจ้งเป้าหมายการเรียนรู้ โดยก่อนสอนครูจะบอกมาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ เกณฑ์การประเมินสื่อและแหล่งเรียนรู้ และนักเรียนมีข้อเสนอแนะและจะปรับเปลี่ยนกิจกรรมใดบ้าง จะเสนอพิจารณาปรับได้ ได้วางแผนการเรียนรู้และประเมินผลร่วมกับครู โดยเสนอแนะกิจกรรมการเรียน การประเมินผล เกณฑ์การประเมิน สื่อและแหล่งเรียนรู้ นักเรียนชอบวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของครู เพราะ มีส่วนร่วมในการวางแผนได้ปฏิบัติงานจริง มีการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม มีการประเมินและปรับปรุงผลงาน ทำให้ผลงานได้มาตรฐาน และได้คะแนนสูงตามด้วย ได้มีส่วนร่วมในการประเมินผล เคยให้คะแนนผลงานของตนเอง ของเพื่อน ผลงานกลุ่ม ตรวจสมุดหรืองานของตนเอง ของเพื่อน ของกลุ่ม ทำให้เห็นผลงานหลากหลายขึ้น และได้รับการเสริมแรงจากครู เมื่อนักเรียนมีความประพฤติดี ทำงานดี ผลงานถูกต้องเหมาะสม และสวยงาม นักเรียนทุกคนได้รับคำชมเชยและกำลังใจจากครู ครูจะชมเชยและให้กำลังใจ อาจจะให้สาธิตให้เพื่อนดู เพื่อนปรบมือให้ ครูชมว่าเก่ง ดีมาก ครูให้รางวัล
2.4 ผลการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินผลสภาพจริงของครูผู้สอนและนักเรียน ผลการสังเกตพบว่า
2.4.1 ครูมีการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ได้แก่ มีการวิเคราะห์ขอบข่ายสาระหลัก มีการจัดทำคำอธิบายรายวิชา มีการออกแบบการประเมินภาระงาน/ผลงานรวบยอดประจำรายวิชาและเกณฑ์การประเมิน มีการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ มีการออกแบบการประเมินภาระงาน/ผลงานรวบยอดประจำหน่วยการเรียนรู้และเกณฑ์การประเมิน มีการกำหนดแผนการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้ มีการกำหนดสัดส่วนคะแนนแผนการเรียนรู้ประจำหน่วยการเรียนรู้ มีแผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผลแต่ละหน่วยการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมินผล
2.4.2 สำหรับพฤติกรรมนักเรียน พบว่า นักเรียนทุกคนมีพฤติกรรม ได้แก่ ผู้เรียนรับทราบเป้าหมายการเรียนรู้ทุกครั้ง มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการวางแผนการเรียนรู้และประเมินผล สนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติ มีส่วนร่วมในการประเมินผล ได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ได้รับการส่งเสริมให้กล้าแสดงออกและเป็นผู้นำ มีความสุขในการเรียนรู้ ได้นำผลการประเมินมาปรับปรุงตนเอง และมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
2.5 ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีต่อการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง พบว่า มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินตามสภาพจริง ไม่แตกต่างกัน
2.6 ผลการพัฒนาบุคลากร พบว่า ครูทุกคนได้พัฒนาการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อการประเมินผลสภาพจริง การประเมินคุณภาพของแผนการเรียนรู้และประเมินผล โดยศึกษานิเทศก์เป็นผู้ประเมิน พบว่า คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผลของครูผู้สอนทุกคนอยู่ ในระดับดี

6. การใช้ประโยชน์
-

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883