[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
นายมนตรี นาคีย์


ชื่อนวัตกรรม
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL โดยใช้ผู้เรียนเป็นฐาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | แชร์  เข้าชม 2466
ประเภทนวัตกรรม การเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2564
ชื่อผู้พัฒนา นายมนตรี นาคีย์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์   สังกัด   สพป.สกลนคร เขต 3
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
“ต้นทุนทางการศึกษา” บนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การมองต่างมุม มุมที่หลากหลาย ทั้งฝ่ายของกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มครู และกลุ่มนักเรียน ปัจจัยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการจัดการเรียนรู้ภายใต้คำว่า “ไม่พร้อม” เมื่อสถานการณ์โรคระบาดที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน นั่นก็คือ COVID-19 นั้น จึงต้องทำให้ทุกฝ่ายต้องเกิดการพัฒนาตนเองในรูปแบบของ Active Learning ทันที รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ปกติในห้องเรียน (Onsite) ต้องงดในภาวะของการสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แผนการดำเนินการต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพัฒนาตามสภาวะและเพื่อให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา
ในมุมมองของการจัดการเรียนการสอนที่งดให้ห้องเรียนปกติแล้วนั้น ก็ยังมีรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ เช่น On-air : การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์ ใช้สัญญาณดาวเทียม KU-Band (จานทึบ) C-Band (จานโปร่ง) ระบบเคเบิ้ลทีวี (Cable TV) ระบบ Application TV และระบบ IPTV ซึ่งเป็นช่องทางในการเผยแพร่การเรียนรู้ DLTV ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 On-hand : การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนทางไกล โดยการนำหนังสือเรียน แบบฝึกหัด ใบงาน และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ไปให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่บ้าน ภายใต้ความดูแลช่วยเหลือของผู้ปกครองในขณะที่เรียนรู้ On-demand : การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ DLTV (www.dltv.ac.th) , Youtube (DLTV 1 Channel – DLTV 12 Channels) , Application DLTV , DLIT (www.dlit.ac.th), Application DLIT หรือ OBEC Content Center บน Smart Phone / Tablet Online : การจัดการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด หมายถึง การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะการสื่อสารสองทาง
ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด (LIVE) ระหว่างครูและนักเรียน โดยนักเรียนจะต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องนั้น การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ นวัตวิถี MONTREE MODEL โดยใช้ผู้เรียนเป็นฐาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงได้ศึกษาหลักการ ทฤษฎี นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้วิธีการนำมาเป็นแนวปฏิบัติพัฒนาในการจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีการให้มากและหลากหลาย และที่สำคัญของคำว่า ผู้เรียนเป็นฐานคือ การเข้าถึงเนื้อหา สื่อ การเรียนการสอนของนักเรียนที่สะดวกที่สุด เสมือนห้องเรียนปกติได้รับการเรียนรู้ที่ไม่เกิดภาวะใด ๆ

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 นั้น ยังต้องดำเนินการไปตามหลักสูตร การวัด ประเมินผลรอบปีการศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อสร้างและเผยแพร่สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้
ง่ายจากที่มีอุปกรณ์เข้าถึง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนเอง และมีรูปแบบที่หลากหลายในการสื่อสารรวมถึงปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
1. ขั้นสำรวจ เป็นการสำรวจนักเรียนก่อนที่จะมีแนวทาง การออกแบบรูปแบบ
วิธีการของการสร้างและเผยแพร่สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องระหว่างผู้ที่ใช้งาน การเข้าถึงสื่อ นวัตกรรม และการสื่อสารรวมถึงปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน โดยกำหนดรูปแบบการสำรวจนักเรียน จำนวน 40 คน
2. ขั้นการวิเคราะห์ จากการผลการสำรวจนักเรียนนั้นทำให้ทราบว่านักเรียนมีการใช้อุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีประเภทใดอยู่กับการสื่อสารครูผู้สอน แอพพลิเคชั่นที่ใช้สื่อสารติดตามงานระหว่างครูกับนักเรียนแอพพลิเคชั่นที่ใช้สื่อสารการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตเครือข่ายใด ซึ่งเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การออกแบบ การสร้างและวิธีการเผยแพร่สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ขั้นการออกแบบ เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ จึงได้ออกแบบโดยกำหนดทิศทาง กรอบแนวคิดที่จะสร้างและวิธีการเผยแพร่สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงการเข้าถึงสื่อ นวัตกรรมของครูผู้สอน และมีการสื่อสารรวมถึงปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน โดยกำหนดกรอบตามรูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL โดยใช้ผู้เรียนเป็นฐาน คือ
“MONTREE Model” คือ นวัตกรรมเพื่อเป็นการสร้างและบริหารจัดการที่ดีของตนเอง
1.M : Management : การจัดการ หมายถึง ครองตน ครองคน ครองงาน
คำอธิบาย กล่าวคือ การรู้จักตนเอง การรู้จักบุคคล การรู้จักหน้าที่การงาน
2.O : Operation : การทำงาน หมายถึง รู้งาน วางตน ผลงานเป็นเลิศ
คำอธิบาย กล่าวคือ การเรียนรู้งานอยู่เสมอ การวางตนเหมาะสมตามกาลเทศะ การทำงานที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกัน
3.N : Nature : ธรรมชาติ หมายถึง สังคมบริบท บุคคลแตกต่าง สร้างองค์ความรู้
คำอธิบาย กล่าวคือ รู้จักกฎ ระเบียบวินัยของสังคม บุคคล มีความคิดแตกต่างหลากหลาย หล่อหลอมให้เกิดองค์ความรู้ที่มีผลการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.T : Technology : เทคโนโลยี หมายถึง สร้างสื่อ พัฒนา รู้ค่าการใช้งาน
คำอธิบาย กล่าวคือ การสร้างสื่อที่ต้องสอดคล้องตามแนวคิดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
และการพัฒนาต่อยอด พร้อมกับการสร้างค่านิยมให้รู้ค่าการใช้งานที่ถูกต้อง
5.R : Report : รายงาน หมายถึง รู้เก็บงาน รายงานตน ส่งผลองค์กร
คำอธิบาย กล่าวคือ การรู้จักเก็บงาน การไปราชการมีรายงานถึงผู้บังคับบัญชา
6.E : Engineering : วิศวกรรม หมายถึง ครูสอนดี เห็นผล คนยกย่อง
คำอธิบาย กล่าวคือ ครู คือ ผู้สร้าง สร้างคนให้มีความรู้ เคียงคู่คุณธรรม นำไปสู่สังคม
7.E : Experience : ประสบการณ์ หมายถึง รู้เก็บ รู้แลกเปลี่ยน ตกผลึกความคิด
คำอธิบาย กล่าวคือ เรียนรู้สิ่งใหม่ เข้าใจแลกเปลี่ยน แล้วตกผลึกความคิด นำไปใช้อย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหาด้วย 5W1H คือ ตัวอักษรตัวแรกของคำภาษาอังกฤษ 6 คำ ประกอบด้วย Who , What , When , Where ,Why และ How วิธีการใช้เครื่องมือนี้ประกอบด้วยการถามชุดคำถาม อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการจัดทำรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุลักษณะที่แท้จริงของปัญหาและอธิบายออกมาอย่างแม่นยำและครบถ้วน (ที่มาของข้อมูล : https://www.goodmaterial.co/what-is-5w1h)
โดยอาศัยหลักการ 5W1H ร่วมกับรูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL เป็นกระบวนการสร้าง พัฒนา กิจกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาและกิจกรรมพัฒนานักเรียนเกิดสมรรถนะ ตรงตามกรอบที่ทางหลักสูตรกำหนดให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
1. What : อะไร?
รูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL คือ รูปแบบที่จัดการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย กำหนดแนวทางเพื่อใช้ในการเข้าถึงโดยจุดเน้นคือนักเรียนเป็นผู้เข้าถึงสื่อ นวัตกรรมที่ผลิตขึ้น ใช้งานได้ง่าย ตามบริบทของทรัพยากรของนักเรียนที่มีอยู่ เพราะด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. Who : ใคร?
ครูผู้สอน ผลิตสื่อ นวัตกรรมขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใช้งาน เรียนรู้ง่ายที่สุดตามทรัพยากรที่มีอยู่ จุดเน้นที่สามารถนอกจากการเข้าถึงแล้วนั้น ต้องสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนการสอนได้
3.When : เมื่อไหร่
สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน แต่การศึกษาที่ครูต้องให้นักเรียนก็คงยังต้องดำเนินการไปไม่หยุด
4.Where : ที่ไหน
การจัดการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา คือ โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
5.Why : ทำไม
การจัดการเรียนการสอนที่ไม่มีวันหยุด ต้องขับเคลื่อนไปตามสถานการณ์และจุดหมายเดียว เพื่อนักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ จากการจัดการเรียนการสอน มีปฏิสัมพันธ์ มีช่องทางการติดต่อสอบถาม พูดคุย ตลอดในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
6.How : อย่างไร
เมื่อต้องได้รับการสำรวจก่อนการเรียนการสอน สำรวจเพื่อให้ทราบว่านักเรียนเข้าถึงรูปแบบวิธีการอย่างไรที่จะสื่อสาร สร้างปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้ต้องได้ขยายผลให้กับครูที่อยู่ภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อนำไปใช้บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน
อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนรูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL โดยใช้ผู้เรียนเป็นฐาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงได้วางแผน ศึกษาแนวคิดทฤษฎี รวมถึงการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา เทคนิควิธีการการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจ รวมไปถึงสื่อ เครื่องมือ ที่หลากหลายรูปแบบมาปรับใช้ในบริบทของสถานศึกษาและได้นำไปใช้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.รูปแบบการประสานงานช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน
รูปแบบนี้เกิดขึ้นจากผลการวิเคราะห์ในรูปแบบสำรวจนักเรียน การเข้าถึงสื่อจากที่จะใช้
โทรศัพท์ในการติดต่อสอบถามนั้น ถ้าใช้เวลานาน ก็จะมีข้อจำกัดในการใช้เงินจากการโทรศัพท์มากเกินไป
จึงได้กำหนดช่องทางสื่อสารไว้ให้กับนักเรียนเป็นสื่อสังคม (Social network) เช่น Facebook รูปแบบบัญชีส่วนตัว รูปแบบแฟนเพจ Line รูปแบบไลน์ส่วนตัว เป็นต้น
2.รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประเภท เว็บไซต์การเรียนรู้
รูปแบบมีการพัฒนานี้เกิดขึ้นก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19 โดยสร้างขึ้นเพื่อไว้เป็นการเก็บเอกสาร ผลงานทางราชการ ในการพัฒนาตนเอง และการจัด การเรียนการสอน เสมือนเป็นแฟ้มสะสมงานออนไลน์ (Portfolio Online) โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Google สร้างผ่านระบบของ Site Google และ Blogger
3.รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประเภท การทดสอบบทเรียนออนไลน์
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการการจัดการเรียนการสอน เมื่อจบบทเรียนแล้ว
นั้นต้องได้รับการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา โดยครูได้จัดทำแบบทดสอบให้กับนักเรียนผ่านระบบ Google Form และเว็บไซต์ Coding Thailand , Be Internet Awesomeสำหรับการพัฒนาตนเองนอกจากการเรียนรู้และจะได้รับเกียรติบัตรเมื่อผ่านการเรียนรู้
4.รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประเภท สื่อมัลติมีเดียออนไลน์
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการของการจัดการเรียนการสอน นอกจากที่จะนำสื่อวิดิโอมาบูรณาการใช้ในการเรียนการสอนแล้วนั้น ก็ได้นำวิดิโอที่บันทึกปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนสามารถทบทวนเนื้อหาได้ และการนำไปเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูผู้ที่สนใจผ่านระบบ Youtube Chanel ภายใต้ช่อง Good Sharing By นายมนตรี นาคีย์
5.รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประเภท ห้องเรียนออนไลน์
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการของการจัดการเรียนการสอน ได้รับการมอบหมายภาระชิ้นงานให้แล้วนั้นในชั่วโมงการจัดการเรียนการสอน และทางเว็บไซต์การเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางในติดตาม สื่อสารกับนักเรียนที่อาจจะไม่สอบถามผ่านในชั้นเรียนออนไลน์ ทั้งข้อสงสัยในการกิจกรรม การทบทวนเนื้อหาในการเรียนการสอน โดยใช้ช่องทางผ่านระบบ Facebook Group & messenger
6.รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประเภท FACE TO Classroom Online
รูปแบบนี้เกิดขึ้นจากผลการวิเคราะห์ในรูปแบบสำรวจนักเรียน ที่ทราบและเห็นผลว่า
นักเรียนใช้งานในการเข้าถึงแอพพลิเคชันทางโทรศัพท์ส่วนตัว และของผู้ปกครองนักเรียน เพื่อการเข้าถึง เป็นช่องทางผ่านระบบ Google MEET เป็นหลักของการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เนื่องจาก มีความเสถียรในส่วนของพื้นที่ทางโทรศัพท์น้อย รวมไปถึงการใช้บัญชีผู้ใช้ที่นักเรียนไม่ต้องสมัครใหม่ สามารถเข้าร่วมเมื่อรับลิงก์หรือรหัสห้องประชุมเข้าร่วมได้เลยทันที และไม่จำกัดจำนวนคนเข้าร่วม แต่ไม่เกิน 100 คน สามารถนำเสนองานและรับชมพูดคุยได้ในทั้งทางอุปกรณ์แบบเดสก์ท็อป แบบโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรองรับในระบบ IOS และ Android มีกระดานออนไลน์ และใช้ฟรีไม่มีเวลาจำกัด (24 ชั่วโมง) แต่จะมีข้อจำกัดในการบันทึกวิดิโอในการจัดการเรียนการสอนไม่ได้ สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นอีเมลของส่วนบุคคล แต่ถ้าเป็นอีเมลขององค์กร สามารถบันทึกการใช้งานได้เป็นปกติ
7.รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On-air ประเภท การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการของครูผู้สอนยึดเป็นแม่แบบที่ต้องได้ศึกษา
พัฒนากระบวนการการจัดการเรียนการสอน รูปแบบวิธีการ เทคนิคต่างๆ ได้นำมาใช้ปรับปรุงพัฒนาในการเรียนการสอน โดยศึกษาผ่านระบบ DLTV
8.รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On-demand & On-hand ประเภท คลังสื่อความรู้
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการของกระบวนการของครูผู้สอน เพื่อการนำสื่อ
นวัตกรรม ที่หลากหลายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้ทบทวนฝึกทำ ฝึกการพัฒนาอยู่เสมอ ทั้งในรูปแบบวิดิโอ ใบงาน ใบความรู้ อินโฟกราฟิก เกมส์เสริมความรู้ ผ่านระบบ DLIT Classroom
9.รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ ประเภท ถอดบทเรียนห้องเรียน
รูปแบบการพัฒนานี้ เกิดจากกระบวนการของครูผู้สอน ต้องได้การพัฒนาตนเองในทุกปี
การศึกษาจากวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นให้เกิดสมรรถนะของนักเรียน รวมไปถึงการสะท้อนผล จากการจัดการเรียนการสอน โดยผ่านกระบวนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
การวัดและประเมินผล
ได้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล การเผยแพร่เครื่องมือให้ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึง ได้ง่ายจากที่มีอุปกรณ์เข้าถึง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักเรียนเอง และมีรูปแบบที่หลากหลายในการสื่อสารรวมถึงปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนระหว่างครูกับนักเรียน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในภาพรวมสถิติการเยี่ยมชมทุกรูปแบบรายการ ร้อยละ 80
บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ด้านวิชาการ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น มีการเข้าถึงสื่อ นวัตกรรม ในรูปแบบต่างๆ ที่ครูออกแบบ และในการจัดการเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมเป็นอย่างดี
2. ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาหรือชุมชน ผู้เรียนสามารถนำผลการพัฒนานี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จนเป็นกิจนิสัย สามารถที่จะไปใฝ่รู้ใฝ่เรียนได้มากขึ้น สามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องตักเตือนง่ายต่อการสอนของครูและเป็นที่ภาคภูมิใจของผู้เรียนและเป็นความสุขใจของครูผู้ปกครอง และชุมชน
3. เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์แหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
จากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนวัตวิถี MONTREE MODEL โดยใช้ผู้เรียนเป็นฐานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อในระยะแรกในการปรับตัวของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนที่ต้องจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีให้นักเรียน ด้วยสภาพทางชุมชนนั้น ทำอาชีพเกษตรกรรม และรวมไปถึงทรัพยากรงบประมาณในการจัดสรรของอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดภาวะแบบที่ทุกคนต้องปฏิบัติ การเตรียมของนักเรียนก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ (Education For New normal) ด้านการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน พบว่า นักเรียนเห็นความสำคัญการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ให้ความร่วมมือในการพัฒนาตนเอง มีการค้นคว้าหาข้อมูล เกิดพฤติกรรมยอมรับ พอใจ เห็นคุณค่า ในตนเองและเกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพิ่มมากขึ้น รู้จักการสำรวจตนเอง วางแผนการพัฒนาตนเองและปฏิบัติตามแผนในด้านการใฝ่รู้ใฝ่เรียนจนเป็นนิสัย


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883