[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นางสาวนาตยา เนียมชัยภูมิ


ชื่อนวัตกรรม
ข้าวโพดหรรษา ภาษาโค๊ดดิ้ง
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | ไฟล์นวัตกรรม 2 | แชร์  เข้าชม 1553
ประเภทนวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน
ปีที่พัฒนา 2565
ชื่อผู้พัฒนา นางสาวนาตยา เนียมชัยภูมิ
หน่วยงาน โรงเรียนนาค้อวิทยาคม   สังกัด   สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
Coding สำหรับเด็กอนุบาลนั้น เด็ก ๆ จะเรียน Coding ในรูปแบบ Unplugged Coding เป็นการเรียนรู้แบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ แต่เรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้จากการใช้ชีวิตประจำวัน ผ่านสื่อที่เหมาะกับเด็กวัยอนุบาล เช่น กิจกรรมสนุก ๆ เกม นิทาน บัตรภาพ หรือบทเพลง รู้จักวางแผนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน รู้จักการคิดแบบยืดหยุ่น ได้พัฒนาการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเป็นระบบ
ได้ฝึกการคิดแก้ปัญหา
ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีแนวคิดในการพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ที่สามารถใช้ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาล ทั้งในรูปแบบ Unplugged เพื่อตอบสนองความต้องการและพัฒนาทักษะในการคิดสร้างสรรค์ คิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล ทักษะเชิงคณิตศาสตร์ และ กล้าตัดสินใจ ของเด็กอนุบาลได้

วัตถุประสงค์เฉพาะ
1.เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ ในสถานการณ์ Coding ที่กำหนดได้
2.เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกส่วนประกอบต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของข้าวโพดได้

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ข้าพเจ้าได้ดำเนินการออกแบบและสร้างนวัตกรรมตามขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนก่อนสร้างนวัตกรรม
2. ขั้นตอนการออกแบบนวัตกรรมการสอน ด้วย Canva
3. ขั้นตอนการใช้งานสื่อเทคโนโลยีในชั้นเรียน
4. ขั้นตอนการใช้งานนวัตกรรม

1. ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียน
ข้าพเจ้าได้ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้วิเคราะห์นักเรียน จัดหน่วยการจัดประสบการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการจัดประสบการเรียนรู้ และจัดทำแผนการจัดประสบการเรียนรู้ มีขั้นตอน ดังนี้
1) ศึกษารายละเอียดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หน่วยการจัดประสบการณ์ เรื่อง ผักและผลไม้ ติศึกษาเนื้อหาเรื่องการสร้างคำจากหนังสือ ตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน

2. ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม
-การเรียบเรียงเนื้อหา และ สร้างสตอรี่บอร์ดในการสร้างนวัตกรรม
-การจัดหารูปภาพและเสียงที่ถูกลิขสิทธิ์ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ในการการสร้างนวัตกรรม
-การสร้างนวัตกรรมใน canva โดยใช้รูปแบบการสร้างวิดีโอ
3. ขั้นตอนการใช้งานสื่อเทคโนโลยีในชั้นเรียน
การจัดการเรียนรู้ OBEC Content Center โดยให้นักเรียนรับชมผ่านช่องทาง https://app.contentcenter.obec.go.th และทำกิจกรรมในชั้นเรียนหลังการเรียนรู้
กิจกรรมหลังการเรียนรู้ ข้าวโพดหรรษา ภาษาโค๊ดดิ้ง สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยการจัดประสบการณ์เรียนรู้ แบบ Unplugged Coding

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- การจัดการเรียนรู้ OBEC Content Center โดยให้นักเรียนรับชมผ่านช่องทาง https://app.contentcenter.obec.go.th และทำกิจกรรมในชั้นเรียนหลังการเรียนรู้

- เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ Facebook Fan page ห้องเรียนครูเม ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวน 3,154 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 19.59 น.) https://www.facebook.com/Krumea.nattaya

- เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ YouTube Nattya Diary ซึ่งมีผู้ติดตามจำนวน 69 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 19.59 น.) https://youtu.be/9IExwHtLEH4
การวัดและประเมินผล
การวัด
1. สังเกตจากการร่วมมือของนักเรียนขณะร้องเพลง พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง
2. สังเกตจากการตอบคำถามของนักเรียน
3. สังเกตจากการกิจกรรม Unplugging Coding ข้าวโพดหรรษาภาษาโค๊ดดิ้งของนักเรียน
4. ตรวจจากผลงานศิลปะของนักเรียน
การประเมินผล
1. นักเรียนสามารถร้องเพลง พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงได้อย่างสนุกสนาน
2. นักเรียนสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนสามารถทำกิจกรรม Unplugging Coding ข้าวโพดหรรษาภาษาโค๊ดดิ้งได้อย่างถูกต้อง
4. นักเรียนสามารถวาดภาพผลไม้และบันทึกข้อมูลลงในใบกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม
2. นิเทศ ให้คำแนะนำในการพัฒนางานให้มีคุณภาพสูงขึ้น
3. เผยแพร่ผลงานที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่ดี
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
ควรดำเนินกิจกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแผนการสอนและใช้นวัตกรรมประกอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883