[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
อำนาจ วิชายานุวัติ และคณะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | ครื่องมือวิจัย | เข้าชม 6113 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1) มีองค์ประกอบใดบ้าง และมีแนวทางดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร ที่สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น 2) รูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีความสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของท้องถิ่น มีลักษณะอย่างไร มีแนวทางการดำเนินการในทางปฏิบัติอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อค้นหาองค์ประกอบ และแนวทางดำเนินการจัดการศึกษาที่สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมและความต้องการของท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1) กลุ่มเป้าหมาย
1.1) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และศึกษานิเทศก์
1.2) พื้นที่การวิจัย กำหนดขอบเขตพื้นที่เฉพาะการศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา เฉพาะสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 3

เครื่องมือที่ใช้
เป็นแบบสัมภาษณ์และสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ ระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด
ช่วงเวลาการทดลอง
ปีการศึกษา 2553
การวิเคราะข้อมูล
1.1) วิเคราะห์เนื้อหาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การจัดประชุมสัมมนา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ เขตละ 1 คนจาก 11 เขตพื้นที่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างโรงละ 3 คน จานวน 83 โรงเรียนจาก 11 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ใน 5 จังหวัดภาคใต้
1.2) วิเคราะห์องค์ประกอบใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Method หรือ PC) และหมุนแกน แบบมุมฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่มีความหมายชัดเจน โดยที่แต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบนั้นๆ มากที่สุด หลังจากทำการหมุนแกนแล้วได้พิจารณาองค์ประกอบที่มีค่าความแปรปรวนร่วม (Eigen Value) มากกว่า 1 ขึ้นไป และตัวแปรแต่ละตัวจะต้องมีค่าน้ำหนักบนตัวแปร (Factor loading) เท่ากับหรือมากกว่า 0.50 ได้องค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ มีตัวแปร 31 ตัวแปร และทุกตัวแปรทั้ง 4 องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

5. ผลการวิจัย
1) องค์ประกอบที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สูงขึ้น มี 4 องค์ประกอบ มีตัวแปรทั้งหมด 31 ตัวแปร ทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวน ของรูปแบบการบริหาร ได้ร้อยละ 64.090
1.1) องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นตัวนักเรียน (Student Oriented Curriculum) ประกอบด้วย ตัวแปร 13 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ร้อยละ 22.271
1.2) องค์ประกอบที่ 2 การสร้างพลังร่วมจากตนเองและเครือข่าย (Self- Sufficiency and Network Synergy) ประกอบด้วยตัวแปร 10 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ ร้อยละ 19.671
1.3 องค์ประกอบที่ 3 ผู้บริหารทรงประสิทธิผล (Effective Executive) ประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัวแปรอธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ร้อยละ 12.316
1.4 องค์ประกอบที่ 4 การบริหารมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Oriented Management) ประกอบด้วยตัวแปร 4 ตัวแปร อธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ร้อยละ 9.832
เมื่อนำองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ มาเรียงลำดับค่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมที่มีค่าสูง และความสัมพันธ์เชิงระบบของการจัดการศึกษาในสถานศึกษา เรียงตามลำดับปัจจัยและกระบวนการ สรุปได้ว่า องค์ประกอบผู้บริหารทรงประสิทธิผล เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุอันดับแรกที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารมุ่งความสำเร็จ และการสร้างพลังร่วมจากตนเองและเครือข่าย ทำให้มีอิทธิพลต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นตัวนักเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลโดยตรงและมีความสำคัญมากที่สุด ที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
2) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแนวคิดว่าสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ และประเพณีของผู้คนที่มาจากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมส่งผลต่อวิถีชีวิต การดำเนินชีวิตในสังคม ทั้งนี้รวมถึงการบริหารจัดการ การสื่อสารและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้คนระหว่างสถาบันหรือองค์การ ในส่วนของสถานบันการศึกษาจำเป็นต้องมีความตระหนักต่อรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนเนื่องจากผู้เรียนและผู้สอนมีความหลายหลายทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะการเรียนการสอน ครูผู้สอน และ ผู้บริหาร ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงรูปแบบและแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของผู้เรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาซึ่งได้แก่ผู้ปกครองและชุมชน อย่างไรก็ตามบริบทการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อนและมีความอ่อนไหวในแง่ของการบริหารจัดการและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมถึงการมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการสถานศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม จะช่วยให้สถานศึกษาโดยเฉพาะครูผู้สอนและผู้บริหารสามารถบริหารสามารถจัดการสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ เข้าใจ เข้าถึงความแตกต่าง ความต้องการ ของผู้เรียนและชุมชนรวมถึงการสามารถพัฒนาได้ตรงตามเป้าหมายและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) ซึ่งจะทำให้สังคมในสามจังหวัดภาคใต้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการสมานฉันท์ และสังคมแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักของความมีเหตุผล (Rationality) ความถูกต้อง (Accuracy) ความเท่าเทียม (Equity) และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (Continuing and sustainable development) เพื่อผลประโยชน์สูงสุด ของประชาชนในภูมิภาค และประเทศ การจัดการศึกษาในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องพิจารณาในมิติของความหลากหลายทางสังคม (Diversity Society) ภายใต้บริบทที่มีข้อจำกัด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบกับการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษา สถานศึกษา จึงต้องดำเนินการให้บรรลุผลใน 3 มิติ คือ
มิติที่ 1 ด้านคุณภาพการศึกษาที่เทียบเคียงกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
มิติที่ 2 ด้านความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรม
มิติที่ 3 ด้านความมั่นคง ซึ่งหมายรวมถึงความมั่นคงของชุมชน ท้องถิ่นและความมั่นคงของชาติ
คุณภาพการจัดการศึกษาที่สังคมและท้องถิ่นต้องการ หมายถึงคุณภาพของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการบริหาร และการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา คุณภาพผู้เรียนที่โรงเรียนและชุมชนท้องถิ่นประสงค์ร่วมกันประกอบด้วยความรู้วิชาสามัญ ความรู้ และคุณลักษณะการปฏิบัติตนเป็นมุสลิมที่ดีตามหลักการศาสนาอิสลาม
คุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน มุ่งเน้นที่คุณภาพนักเรียน ในด้านความรู้ความสามารถนักเรียนตามหลักสูตรเหมาะสมกับระดับชั้นตามควรแก่วัยและพฤติกรรมด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนมุสลิมที่ปฏิบัติตนได้ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ดังนั้น คุณภาพการศึกษาจึงมีองค์ประกอบเป็นองค์รวมตามมาตรฐานคุณภาพ (Standard Quality) 4 ประการ คือ
1. อัตลักษณ์ของโรงเรียน (Identity) เน้นการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน
2. มาตรฐานด้านการบริหาร (Management)
3. มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน (Learning &Teaching)
4. มาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learners)
การบริหารจัดการของสถานศึกษาจึงต้องพิจารณาดำเนินการในองค์รวม (Holistic) และบูรณาการ (Integrity) ให้บรรลุผลทั้ง 3 มิติ คือ ด้านคุณภาพ ด้านความสอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม และด้านความมั่นคง
จากแนวคิดนี้ นำไปสู่การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นความคิดรวบยอดเชิงทฤษฎี (Theoretical Conceptual Model) ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด (Most Probable Scenario) ในทางปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล สอดคล้องกับทฤษฎีระบบของการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น มีความเหมาะสมกับบริบท ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำไปสู่การจัดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม

6. การใช้ประโยชน์
ได้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาที่สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สูงขึ้นขึ้น

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883