[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้


นายสัญญา วัฒนาเนตร , นายมนตรี นาคีย์


ชื่อนวัตกรรม
รายงานผลการปฏิบัติงาน “เด็กดี มีความสุข ห่างไกลจากภัยยาเสพติด” รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ด้วย 4Q3T2P1S (4QTPS) Model
         innovation | ไฟล์นวัตกรรม 1 | แชร์  เข้าชม 457
ประเภทนวัตกรรม การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา 2566
ชื่อผู้พัฒนา นายสัญญา วัฒนาเนตร , นายมนตรี นาคีย์
หน่วยงาน โรงเรียน้านทุ่งโพธิ์   สังกัด   สพป.สกลนคร เขต 3
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ จึงได้จัดทำนวัตกรรม เพื่อสร้างนักเรียนให้เป็น “เด็กดี มีความสุข ห่างไกลจากภัยยาเสพติด”รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ด้วย 4Q3T2P1S (4QTPS) Model เพื่อใช้ในการบริหารจัดการสร้างสรรค์คนดีที่เป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทของสถานศึกษาและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ฝ่าย โดยมีเป้าหมาย คือ นักเรียน ครูและบุคลากรทาง การศึกษา
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจ และห่างไกลจากภัยของยาเสพติด
2. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการและกิจกรรมสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
และอบายมุข ของโรงเรียนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
3.1 กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
ขั้นที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา
ผู้บริหารและครูร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน (SWOT Analysis) เพื่อร่วมกันค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขั้นในโรงเรียน ซึ่งผลจากการ SWOT Analysis พบว่าต้องพัฒนานักเรียนให้รู้เท่าทัน ป้องกันตนเองจากภัยของยาเสพติด ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบวิธีการดำเนินงานที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้

ขั้นที่ 2 กำหนดกรอบแนวคิด
เมื่อได้กำหนดจุดประสงค์ในการพัฒนาแล้ว ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทัน ป้องกันตนเองจากภัยของยาเสพติด ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยการนำมาผสมผสานกับความคิดและประสบการณ์ของตนเอง พร้อมทั้งกำหนดเป็นกรอบแนวคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม

ขั้นที่ 3 สร้างนวัตกรรม
ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันออกแบบและสร้างตัวต้นแบบนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับรูปแบบ หลักเกณฑ์การดำเนินงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้ผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของกิจกรรมการการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมนอกเวลาเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคแนวคิดทฤษฎีระบบ System theory เป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงาน พร้อมทั้งใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ มีการตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรมจากข้อมูลย้อนกลับ และการพัฒนาองค์กรควบคู่ไปด้วย หลังจากนั้นนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรูปแบบนวัตกรรม

ขั้นที่ 4 นำนวัตกรรมไปใช้
เมื่อได้รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาเพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีการรู้เท่าทัน ป้องกันตนเองจากภัยของยาเสพติด ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขแล้ว จึงนำไปใช้จริง ในการบริหารงานการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ ตามขั้นตอนของกระบวนการนวัตกรรม โดยควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของตัวนวัตกรรม นำผลการดำเนินงานตามขั้นตอนของนวัตกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่าผลการใช้นวัตกรรมไม่เหมาะสมหรือไม่สมบูรณ์แล้ว จะเข้าสู่การปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่อไป

ขั้นที่ 5 เขียนรายงานเผยแพร่
เขียนรายงาน/เผยแพร่ เมื่อนำนวัตกรรมไปใช้ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเหมาะสม แล้วจึงเขียนรายงานและเผยแพร่ แต่หากไม่มีความเหมาะสมผู้เชี่ยวชาญจะได้ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข จนเสร็จสมบูรณ์แบบ จึงนำมาเขียนรายงาน และนำไปเผยแพร่ต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้
กิจกรรมส่งเสริม พัฒนา เพื่อสร้างนักเรียนให้เป็น “เด็กดี มีความสุข ห่างไกลจากภัยยาเสพติด”รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ด้วย 4Q3T2P1S (4QTPS) Model
ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
กิจกรรมส่งเสริม พัฒนา เพื่อสร้างนักเรียนให้เป็น “เด็กดี มีความสุข ห่างไกลจากภัยยาเสพติด”รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ด้วย 4Q3T2P1S (4QTPS) Model ตามโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้กำหนดกิจกรรมตามรูปแบบวิธีการและหลักเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมนักเรียน ดังนี้
1. กิจกรรมกีฬาส่งเสริมสุขภาพ
2. กิจกรรมลูกเสือต้านภัยยาเสพติด
3. กิจกรรมแอโรบิคเพื่อสุขภาพ
4. กิจกรรมเพศวิถีศึกษานำพาสุข
5. กิจกรรมวิชาทักษะชีวิต
6. กิจกรรมหนูน้อยจิตอาสา


การวัดและประเมินผล
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจ
และห่างไกลจากภัยของยาเสพติด
2. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการและกิจกรรมสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
และอบายมุข ของโรงเรียนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ผู้บริหารสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ในการส่งเสริมกิจกรรมให้
บรรลุตามวัตถุประสงค์
2. นักเรียนรู้และเข้าใจพร้อมให้ความร่วมมือในการพัฒนาตนเป็นอย่างดี
3. ผู้ปกครองนักเรียนรู้และเข้าใจพร้อมให้ความร่วมมือในการสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาตน
ของบุตรหลานเป็นอย่างดี
4. ครูผู้รับผิดชอบมีกระบวนการขั้นตอนชัดเจนในการปฏิบัติกิจกรรมที่ดำเนินการ
ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
การพัฒนาตนเองของนักเรียน ในขั้นขยายผลภายในสถานศึกษา เกิดความร่วมมือทางวิชาการ ได้เรียนรู้เน้นกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะ เพื่อเป็นวิชาชีวิต หรือทักษะชีวิตที่ต้องได้รับ ปรับเปลี่ยน ให้อยู่และพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883