[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
ภริดา บ่อพืชน์ . (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับ การวิจัย เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์
 
  เข้าชม 65 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนเป็นอย่างไร 2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นอย่างไร 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ที่พัฒนาแล้วนำไปทดลองใช้แล้วเกิดผลเป็นอย่างไร 4. ผลการประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เป็นอย่างไรและอยู่ในระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน
2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์
4. เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์

3. สมมติฐานการวิจัย

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan (1970 : 607)
1) ครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์จำนวน 40 คน
2) นักเรียน จำนวน 260 คน

เครื่องมือที่ใช้
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา แบบรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบ แบบประเมิน และแบบสอบถาม
ช่วงเวลาการทดลอง
2565-2566
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการบริหารจัดการโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเร่งพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนเน้นการศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน ใช้รูปแบบ CPAE Model สรุปองค์ประกอบ 4 ขั้นตอนคือ (1) ตรวจสอบความรู้เดิม (Check : C) (2) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present new Information : P) (3) การลงมือปฏิบัติ (Action : A) และ (4) อธิบายขยายความรู้ (Explanation : E) 3) การทดลองใช้รูปแบบ โดยการทดสอบความรู้ความสามารถของครู พบว่า มีคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ประเมินความสามารถในการเขียนโครงการวิจัย พบว่าความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยของครู โดยภาพรวมพบว่า ครูมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบ (1) ประเมินทักษะครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ประเมินทักษะการทำโครงงานของนักเรียน อยู่ในระดับมาก (3) ประเมินพฤติกรรมตามทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก (4) ประเมินความพึงพอมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
6. การใช้ประโยชน์
1.1 ผลจากการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทาง Active Learning ร่วมกับการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ควรมีการส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ควรกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนให้สถานศึกษาบูรณาการ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนกับ การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู และนักเรียนให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนให้สูงขึ้น
1.2 ผลจากการวิจัย สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี และ โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ควรทำข้อตกลงความร่วมมือในการนำผลที่ได้จากการทดลอง มาใช้ในสถานศึกษาที่ได้รับผิดชอบ เพื่อปลูกจิตสำนึกในการเรียนตามหลักการมีส่วนร่วมบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้บังเกิดผลจริงจังและยั่งยืน
1.3 ผลจากการวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสนใจ ใส่ใจในการกระตุ้นครู และบุคลากรทางการศึกษา ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
1.4 ผลจากการวิจัยหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดทำคู่มือ หรือตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการกับศาสตร์พระราชาแก่สถานศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการขับเคลื่อนการบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาได้ง่ายขึ้นและประสบผลสำเร็จ


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883