[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้

เจ้าของผลงาน
มานิตย์ พุทธโยธา


ชื่อนวัตกรรม
การศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
         innovation | แชร์  เข้าชม 1610
ประเภทนวัตกรรม การบริหารจัดการ
ปีที่พัฒนา 2553
ชื่อผู้พัฒนา มานิตย์ พุทธโยธา
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 4.    สังกัด   สพป.เชียงราย เขต 4
แนวคิด มมโนทัศน์ หรือสาระสำคัญ
สภาพการใช้หลักสูตร หมายถึง สภาพของปัจจัยสนับสนุน กระบวนการใช้หลักสูตร ผลผลิตของการใช้หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กระบวนการพัฒนานวัตกรรมและขั้นตอนในการใช้นวัตกรรม
แบ่งขั้นตอนการใช้ออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ
เป็นการวางแผนในการวิจัยติดต่อประสานงานสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจัดสร้างเครื่องมือ แบบสอบถาม จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ
ดำเนินการให้โรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นิเทศ
ติดตาม การใช้หลักสูตรของสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
1. จัดส่งแบบสอบถามให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายดำเนินการ แล้วส่งข้อมูลกลับคืนในช่วงเวลาที่
กำหนด เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป
2. ผู้วิจัย ร่วมการสัมภาษณ์ กับคณะ ได้แบ่งโรงเรียนรับผิดชอบ ไปดำเนินการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย นั้น ๆ ตามกรอบในแบบสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 3 การสรุป
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยค่าสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลปลายเปิดโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำรายงานผลการศึกษา และเผยแพร่ต่อหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สื่อและแหล่งเรียนรู้
...
การวัดและประเมินผล
ประเมินจากแบบสอบถาม โดยจำแนกตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1) แบบสอบถามผู้บริหาร 2) แบบสอบถามครูผู้สอน 3) แบบสอบถามนักเรียน และ 4) แบบสอบถามผู้ปกครอง/กรรมการสถานศึกษา/ผู้นำชุมชน โดยวัดจากก่อนและหลังการทดลอง

บทบาทศึกษานิเทศก์/บทบาทครู/บทบาทนักเรียน
1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนครูในด้านวัสดุที่จัดทำแผนการสอน การจัดสรรงบประมาณรายหัวนักเรียนให้เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์/สื่อการสอน และเห็นว่า แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่สำคัญคือห้องสมุดและมุมหนังสือ รองลงไปคือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ส่วนแหล่งเรียนรู้ ภายนอกที่สำคัญคือ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น วัด โบสถ์ มัสยิด
2. ครูผู้สอนได้รับการอบรมสัมมนาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำหน่วย การเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และการจัดทำหน่วยบูรณาการ
ในการเตรียมการสอนต้องการการสนับสนุนในเรื่องการให้เวลาสำหรับทำแผนฯ การนิเทศช่วยเหลือ ตรวจความถูกต้องแผนฯ และต้องการความรู้ในเรื่องการวัดผลและประเมินผล การเขียนเกณฑ์ การให้คะแนน(Scoring Rubrics) ที่ถูกต้องในระดับเขตพื้นที่การศึกษาได้จัดอบรมให้ความรู้การจัดทำหลักสูตร จัดทำหน่วยการเรียนรู้ฯ ส่วนการนิเทศติดตามช่วยเหลือมีน้อย การจัดหาสื่อและอุปกรณ์การสอนส่วนใหญ่ได้จัดหาและผลิตขึ้นเอง ส่วนระบบการบริหารสถานศึกษา เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล
3. นักเรียนส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนมีบางส่วนที่เป็นลูกคนต่างด้าว และชาวเขา เข้ามาศึกษาที่โรงเรียนเพราะโรงเรียนใกล้กับที่อยู่อาศัย และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ปัจจัย ที่สนับสนุนการเรียนได้ดีคือ กฎ ระเบียบ กติกาของโรงเรียน
4. ผู้ปกครอง/ชุมชน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้หลักสูตร สถานศึกษาโดยการมาร่วมประชุมฟังคำชี้แจงของโรงเรียนและเสนอแนวคิดให้เพิ่มเติมเรื่องของท้องถิ่น เรื่องการแก้ไขพฤติกรรมเด็กที่ไม่ดี ส่วนกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่จะรับทราบหลักสูตรสถานศึกษาที่โรงเรียนสร้างขึ้น โดยการลงนามประกาศใช้หลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการคนอื่น ๆ และเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม วันสำคัญที่โรงเรียนจัดขึ้นเช่น วันวิชาการ วันสำคัญทางประเพณีวัฒนธรรม วันเด็ก พร้อมกับบริจาคเงินเงินเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมนั้นๆ

ข้อควรระวัง/ข้อพึงระวัง
1. ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และความต้องการของชุมชน เช่น การปรับโครงสร้างเวลา ให้ความสำคัญกับวิชาหลัก หรือความรู้ที่สังคม และชุมชนต้องการ
2. ผู้บริหารโรงเรียนควรมุ่งเน้นงานวิชาการในโรงเรียน จัดระบบบริหารงานวิชาการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน
3. ควรจัดอบรมและพัฒนาครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องการจัดทำและพัฒนา หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการการจัดการเรียนการ
4. ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุน การจัดหา การผลิต การบำรุงซ่อมแซมสื่อ อุปกรณ์ การสอน ห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสม พอเพียง และมีคุณภาพ
5. ส่วนกลางควรจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ครูนำไปปรับใช้
6. ควรให้ผู้ปกครอง/ชุมชน รู้และเข้าใจในบทบาทหน้าที่และ เข้ามามีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา

7. ควรมีการศึกษาการใช้นวัตกรรม และการบูรณาการเนื้อหา ที่จะช่วยเหลือครูผู้สอนในการ
ลดเวลาสอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน
8. ควรมีการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง/ชุมชน ในการจัดการเรียนรู้เพื่อหาแนวทาง
ให้มีการร่วมมือในการจัดการศึกษาและให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน



กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883