[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
นางสาวกุลธิดา สุวัชระกุลธร. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
 
  เข้าชม 1019 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง ของไหล เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นอย่างไร
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล
3. สมมติฐานการวิจัย
-
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ที่เรียนรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม4
รหัสวิชา ว30204 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 42 คน ประกอบด้วยนักเรียนชาย 11 คน นักเรียนหญิง 31 คน โดยคละความสามารถ ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้

เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 3 เครื่องมือ ได้แก่ 1) บันทึกหลังการสอนของครู
2) ใบกิจกรรม และ 3) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริง
ซึ่งแต่ละเครื่องมือก็มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. บันทึกหลังสอนของครู เป็นบันทึกของผู้วิจัยในการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่จัดการเรียนรู้ โดยจดบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตอย่างละเอียดตามความเป็นจริง มีลักษณะเป็นแบบบันทึกกึ่งโครงสร้าง ซึ่งมีหัวข้อในการบันทึก คือ 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การสรุปเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 5) ข้อมูลอื่น ๆบันทึกหลังการสอนนี้ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอน และปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
2. ใบกิจกรรมของนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินความสามารถใน การแก้ปัญหาของนักเรียนซึ่งนักเรียนเป็นผู้บันทึกผลการทำกิจกรรมลในระหว่างทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ในแต่ละเรื่องย่อย โดยนักเรียนต้องกำหนดปัญหาจากสิ่งที่สงสัยหรือสิ่งที่อยากรู้จากสถานการณ์ กำหนดตัวแปรที่ศึกษา ออกแบบการทดลอง อภิปรายผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง และนำเสนอผลการศึกษาในการหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยหรืออยากรู้ โดยใบกิจกรรมนี้้ผู้วิจัยเป็นผู้เตรียมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละเรื่องย่อย
3. แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริง เรื่อง ของไหล ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่อง ของไหล เมื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ซึ่งขอบเขตของการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำหนดปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านวางแผนศึกษา 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้ 5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ โดยแบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องและความ เหมาะสมของแบบประเมิน โดยถือเกณฑ์ร้อยละ 60 เป็นเกณฑ์ โดยแบบประเมิน ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, และ 4 คะแนน

ช่วงเวลาการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นเวลาทั้งหมด 30 คาบ โดยทำการสอนเป็นเวลา 4 คาบต่อสัปดาห์ คาบละ 50 นาที
การวิเคราะข้อมูล
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ใบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ผู้วิจัยใช้แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนตามสภาพจริงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แปลความหมายด้านความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนออกมาเป็นคะแนน 5 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3 และ 4 คะแนน ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยในการแปรผลเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ข้อมูลความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนผู้วิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พิจารณาจากคะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 – 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ

2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายเรื่องย่อย โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 – 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายด้าน โดยพิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบุปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านวางแผนศึกษา 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้
5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับสูง
คะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 50 – 69 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าร้อยละ 50 มีความสามารถในการแก้ปัญหาระดับต่ำ

5. ผลการวิจัย
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พิจารณาจากคะแนน ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนแต่ละกลุ่ม จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมในระดับปานกลาง โดยนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง คือ 15.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับต่ำ คือ 13.83 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับ
ปานกลาง
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายเรื่องย่อย จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนในแต่ละเรื่องย่อย พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือ เรื่องพลศาสตร์ของไหล มีคะแนนเฉลี่ยรวม 19.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนเรื่องที่นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด คือ เรื่องความหนาแน่น มีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.86 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน จากผลการศึกษาเมื่อพิจารณาคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาตามลำดับเรื่องย่อยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล ช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาได้
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นรายด้าน โดยพิจารณาจากคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนทั้งห้องเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกำหนดปัญหา 2) ด้านทำความเข้าใจปัญหา 3) ด้านดำเนินการศึกษาค้นคว้า 4) ด้านสังเคราะห์ความรู้ 5) ด้านสรุปผล และ 6) ด้านนำเสนอ จากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมของนักเรียนในแต่ละด้าน พบว่า
นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมมากที่สุดในด้านนำเสนอ มีคะแนนเฉลี่ยรวม 17.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ส่วนด้านที่นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยรวมน้อยที่สุด คือ ด้านระบุปัญหา มีคะแนนเฉลี่ยรวม 9.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน และจากผลคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละด้านเมื่อพิจารณาแยกตามเรื่องย่อย สามารถแบ่งผลการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนมีค่าเพิ่มขึ้นและลดลง มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกำหนดปัญหา ด้านทำความเข้าใจปัญหา ด้านสังเคราะห์ความรู้ และด้านสรุปผล และ 2) คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยของนักเรียนมีค่าคงที่หรือเพิ่มขึ้น มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านดำเนินการศึกษาค้นคว้า และด้านนำเสนอ

6. การใช้ประโยชน์
นวัตกรรมการศึกษาสำหรับพัฒนาสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานเชื่อมโยงกับแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ของไหล

7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ
-

 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883