[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by _SCRIPT _VERSION
 Home Research Innovation วิธีนำเสนอผลงาน สมัครสมาชิก คู่มือการใช้



ชื่องานวิจัย
พัชรินทร์ วงค์สง่า. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม
 
  บทคัดย่อ | ทฤษฎี | เข้าชม 1224 | แชร์   
 
บทคัดย่อ
1. คำถามวิจัย
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพมีลักษณะอย่างไร 2. รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม ควรมีองค์ประกอบและขั้นตอนอย่างไร 3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม ที่พัฒนาแล้วนำไปทดลองใช้ แล้วเกิดผลเป็นอย่างไร 4. การประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา ท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม เป็นอย่างไร และอยู่ในระดับใด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ
2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม
4. เพื่อประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม

3. สมมติฐานการวิจัย
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภายในเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ เป็นอย่างไร
2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม เป็นอย่างไร
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม แล้วเป็นอย่างไร
4. การประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม อยู่ในระดับไหม และมาแนวทางอย่างไร

4. วิธีการดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง
1.3 กลุ่มเป้าหมาย ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1) ผู้บริหาร / ครู จำนวน 5 คน
2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน
3) ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน
4) นักเรียน 5 คน
1.4 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่
1) ครูโรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม จำนวน 26 คน
2) นักเรียน จำนวน 299 คน
กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan (1970 : 607)
1) ครูโรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม จำนวน 26 คน
2) นักเรียน จำนวน 175 คน

เครื่องมือที่ใช้
รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน แบบทดสอบ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ แบบประเมินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบประเมินทักษะด้านอาชีพของนักเรียนและการถอดบทเรียน
ช่วงเวลาการทดลอง
2563
การวิเคราะข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) การวิเคราะห์เนื้อหา และการถอดบทเรียน
5. ผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการจัดการเรียน พบว่า โรงเรียนชุมชนเทศบาลวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม ต้องมีการบริหารจัดการโดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน บุคคลากรในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ 2) ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน ใช้รูปแบบ PNCC Model ประกอบด้วย (1) การวางแผน (Planning : P) (2) ภาคีเครือข่าย (Network Partnership : N) (3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (Curriculum : C) (4) ทักษะอาชีพ (Career Skills : C) 3) การทดลองใช้รูปแบบ โดยการทดสอบความรู้ก่อนอบรมมีคะแนน 9.92 และหลังอบรม มีคะแนน 17.96 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า (1) ประเมินระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3) ประเมินทักษะด้านอาชีพของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4) ประเมินความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
การถอดบทเรียน พบว่า แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษานั้นมีความสำคัญอย่างมาก ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เด็กนักเรียนได้เข้าร่วมและเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของชุมชน ทั้งการแต่งกาย การปฏิบัติตน การเข้าร่วมกิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมทำให้ได้รับความชื่นชมจากชุมชนอย่างต่อเนื่อง


6. การใช้ประโยชน์
จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน มีความเหมาะสมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น
1.1 รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองอุทัยธานี และโรงเรียนควรกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน
1.2 เทศบาลเมืองอุทัยธานี ควรส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองอุทัยธานี ให้มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา เช่น จัดสัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานต่างๆ และให้ผู้บริหารสถานศึกษา ได้เข้ารับการฝึกอบรมการเป็นผู้บริหารที่มีการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาที่ตนเองรับผิดชอบ
1.3 ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่ต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนา การบริหารจัดการศึกษาอย่างแท้จริง
1.4 กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เทศบาลเมืองอุทัยธานี ควรนำข้อมูลสารสนเทศ ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของสถานศึกษาไปศึกษา เพื่อวางกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งด้านกายภาพ และด้านวิชาการโดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นแบบภาคีเครือข่าย
1.5 ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องศึกษา พัฒนา และปรับปรุง คือ ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสถานศึกษา ให้ผู้ปกครอง ชุมชนรับทราบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือด้านการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ


7. แหล่งทุน/รางวัลที่ได้รับ


 


กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. 10300
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : reis.obec@gmail.com โทรศัพท์ 0 2288 5883